ฟันงุ้ม คืออะไร แก้ยังไง ปัญหาฟันที่ทำให้ดูหน้าแก่

เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาทั้งจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์

ฟันงุ้ม (Retroclined teeth) คือลักษณะของฟันที่มีความเอียงหรืองุ้มเข้าข้างในมากกว่าปกติ แทนที่จะทำมุมประมาณ 90-100 องศากับแนวตั้งของใบหน้า ซึ่งเป็นองศาที่ปดติ โดยมักจะเกิดขึ้นกับฟันหน้าบน ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ทำให้ดูหน้าแก่กว่าวัย รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการใช้งานฟันอีกด้วย

สาเหตุ

  • พันธุกรรม: ฟันงุ้มอาจเกิดจากการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติอันเกิดมาจากพันธุกรรม
  • การเติบโตของขากรรไกรที่ผิดปกติ: การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรเล็ก หรือ ไม่เท่ากัน
  • นิสัย: นิสัยบางอย่าง เช่น การชอบดูดนิ้วตัวเอง ทำให้ตัวฟันเจริญเติบโตมาผิดปกติ
  • การสบฟันที่ผิดปกติ: การสบฟันที่ผิดปกติ ระหว่าฟันบนและล่าง เช่น ภาวะฟันสบลึก ทำให้เกิดการเอียงและงุ้มของตัวฟันได้
  • การรักษาทางทันตกรรม: ในบางครั้ง การรักษาทางทันตกรรม เช่น การจัดฟัน อาจเป็นตันเหตุของฟันงุ้มได้ เพราะอาจเกิดมาจากปัญหาฟันล้มเป็นต้น

ผลกระทบ

ผลกระทบในเชิงลบจากการมีฟันงุ้ม มีดังนี้:

  • ส่งผลต่อภาพลักษณ์ ทำให้ใบหน้าดูแก่กว่าวัยและทำให้รอยยิ้มดูไม่สวย
  • ทำให้ใช้งานฟันได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเวลาบดเคี้ยวอาหาร
  • ส่งผลกระทบต่อการออกเสียงบางคำ เพระาตัวฟันที่งุ้มเข้ามาจะไปบังการไหลของลมในช่องปาก
  • มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของตัวฟันได้ง่าย เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น จากการที่ฟันบันกระทบฟันล่าง
  • ทำให้เกิดหินปูนในจุดที่ทำความสะอาดได้ยาก เพราะฟันที่งุ้มจะทำให้มีซอกฟันเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยรวม

วิธีการรักษาแก้ไข

  1. จัดฟัน: การจัดฟันเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาฟันงุ้ม โดยจะมีตัวเลือกทั้งการจัดฟันทั่วไปแบบดั้งเดิม เช่น การจัดฟันโลหะ ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด และ การจัดฟันแบบใส ในเคสที่ฟันงุ้มไม่มาก
  2. การใช้เครื่องมือทันตกรรม: เหมาะสำหรับใช้รักษาในเด็ก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ฟันยังไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยจะใช้เครื่องมือทางทันตกรรม เช่น อุปกรณ์จัดฟัน Herbst เป็นต้น เพื่อใช้ดันฟันให้เข้าที่ก่อนที่จะเข้าสู่วัยเจริญเติบโต
  3. การบูรณะทางทันตกรรม: ในบางกรณี ทันตแพทย์อาจใช้การบูรณะทางทันตกรรมร่วมด้วย เช่น การแปะวีเนียร์ หรือ การครอบฟัน ร่วมกับการจัดฟัน เพิ่อใช้เสริมสร้างภาพลักษณ์และปรับองศาการเอียงของฟัน
  4. การผ่าตัดขากรรไกร: ในเคสที่ฟันงุ้มมากเกินกว่าที่จะจัดฟันได้ แพทย์อาจแนะนำให้มีการผ่าตัดขากรรไกร่วมด้วยเพื่อใช้แก้ปัญหาการสบฟัน

วิธีการป้องกัน

แม้ว่าสาเหตุพันธุกรรมจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่ปัญหาฟันงุ้มส่วนใหญ่สามารถที่จะบรรเทาและป้องกันไม่ให้เป็นมากกว่าเดิมได้ ดังนี้

  1. การตรวจฟันสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ ในวัยเด็ก เพื่อดูองศาการงุ้มของฟัน และป้องกันไม่ให้ปํญหาเกิดขึ้น
  2. การดูแลนิสัย เช่น การพยายามไม่ดุดนิ้ว หรือ การปรึกษาจิตแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อแก้ไขนิสัยเหล่านี้
  3. การดูแลสุขภาพช่องปากสม่ำเสมอ เช่น การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง การใช้ไหมขัดฟัน และการขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาเหงือกและฟัน ที่อาจส่งผลต่อการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดฟันงุ้มได้

ทำไมจัดฟันแล้วฟันงุ้ม

ในบางกรณี คนไข้ที่เคยจัดฟันแล้วเกิดฟันงุ้มขึ้น เหตุผลหลักๆ นั้นก็เป็นเพราะว่าฟันล้ม อันเกิดมาจากการไม่ใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอหลังจัดฟันเสร็จตามที่แพทย์ได้แนะนำ ทำให้ตัวฟันมีการเคลื่อนที่และเอียงได้ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรหลังจัดฟัน ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุว่าทำไมจัดฟันแล้วฟันอาจงุ้มได้ ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ และอาจมีการจัดฟันรอบสองเพื่อแก้ไขต่อไป

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง