ผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน
การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic surgery) คือการศัลกรรมผ่าตัดขากรรไกร ร่วมกับการจัดฟันเพื่อแก้ไขความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของ ฟัน-กะโหลกศีรษะ-กระดูกขากรรไกร โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทั้งการสบฟันและโครงหน้าใบหน้าที่ผิดปกติ ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว เช่น ฟันสบลึกที่เกิดจากคางยื่น ฟันสบเปิด เป็นต้น โดยการรักษานี้ เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่กระดูกขากรรไกรได้เจริญเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขยับหรือเปลี่ยนตำแหน่งของขากรรไกรหลังการผ่าตัด
การรักษานี้เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันบนคร่อมฟันล่างมากไป หรือ ฟันสบไม่เท่ากัน โดยทำให้เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวอาหาร ภาพลักษณ์ และการใช้ชีวิตประจำวัน
- ผู้ที่มีปัญหาภาวะนอนกรน (Sleep apnea) และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- ผู้ที่มีปัญหาของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular joint) หรือ ขากรรไกรเสื่อม (TMJ) โดยการรักษานี้ ใช้ในการป้องกันและบรรเทาอาการในบางเคสได้
ข้อดี
การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน มีข้อดีต่างๆ ดังนี้:
- ช่วยทำให้การสบฟันดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร
- ช่วยป้องกันปัญหาอื่นๆ ทางทันตกรรมที่สามารถเกิดขึ้นจากการสบฟันที่ผิดปกติได้ เช่น ฟันหน้าบนสึกหรือเหงือกร่น อันเกิดมาจากปัญหาฟันสบลึก
- ส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับภาพลักษณ์และหน้าตา ทำให้ใบหน้าดูเข้ารูปและเป็นสัดส่วนมากขึ้น
- ทำให้หายใจขณะนอนหลับได้ดีชึ้น สำหรับผู้ที่ปัญหาภาวะนอนกรน (Sleep apnea) และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
โดยความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกร ฟัน และกะโหลกศีรษะนี้มักก่อเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงของการเจริญเติบโตของผู้ป่วย เมื่อหยุดเจริญเติบโตแล้วส่งผลให้ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลถาวร การผ่าตัดชากรรไกรจึงควรทำการรักษาเมื่อได้เวลาที่เหมาะสม ซึ่งการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน ควรได้รับการรักษาด้วย แพทย์ผ่าตัดเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (Maxillofacial surgeon) ที่เชี่ยวชาญและชำนาญในการแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า กระดูกขากรรไกร โดยเฉพาะ
ข้อเสียของการรักษา
การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน มีข้อเสียต่างๆ ดังนี้:
- มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง เพราะเป็นการผ่าตัดที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์เฉพาะทาง
- มีการรักษาที่ค่อนข้างนาน เพราะต้องมีการจัดฟันร่วมด้วยอย่างน้อย 1 ปี ก่อนทำการผ่าตัด และ ประมาณ 1-2 ปี หลังการผ่าตัด
- มีความเสี่ยงหลังการรักษา เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ เช่น อาการติดเชื้อ เลือดกำเดาออกง่าย หรือ อาการหน้าชา
แต่จากการพัฒนาของการแพทย์สมัยใหม่ ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimal invasive surgery) ร่วมด้วยเทคโนโลยีการวางแผนการรักษาด้วยระบบ 3D มาช่วย ทำให้ลดอาการปวดบวมและผลข้างเคียงอื่นๆ หลังการผ่าตัด ช่วยให้แผลหายเร็วฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และทำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ตามที่ต้องการมากที่สุด
แนวทางในการรักษา
การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน จะมีแนวทางการรักษาอยู่ 2 แบบ คือ
- วิธีดั่งเดิม (conventional orthognathic surgery): จะต้องทำการจัดฟันก่อนสักระยะหนึ่งเพื่อเตรียมระดับและการเรียงตัวของฟันให้เหมาะสมก่อน (pre-surgery orthodontic phase) จากนั้นถึงเข้าสู่ช่วงของการผ่าตัด( surgery phase) หลังการผ่าตัดก็จะจัดฟันเพื่อเก็บรายละเอียดต่ออีกสักระยะเวลาหนึ่ง (post-surgery orthodontic phase)
- ก่อนการจัดฟัน (Surgery-first orthognathic): เป็นการผ่าตัดขากรรไกรก่อนแล้วจึงค่อยจัดฟันตามทีหลัง โดยมีข้อดีหลักๆ คือ ช่วยลดระยะเวลาทั้งหมดในการรักษาลงประมาณครึ่งหนึ่งจากวิธีรักษาแบบดั่งเดิม
ซึ่งในการเลือกแนวทางการรักษา จะชึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำนต่อไป
ชนิดของการผ่าตัด
ในการผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน จะสามารถแบ่งการชนิดของการผ่าตัดออกได้เป็น 3 ชนิด แล้วแต่เคสและปัญหาของคนไข้ ดังนี้:
1. ผ่าตัดกระดูกขากรรไกรบน
- การผ่าตัดลักษณะนี้ใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรบนที่ผิดปกติโดยที่กระดูกขากรรไกรล่างมีขนาดปกติและอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ เช่น ขากรรไกรบนหลุบ สั้น ยื่น การสบฟันแบบเปิด ภาวะยิ้มเห็นเหงือกเยอะ หรือภาวะยิ้มเห็นฟันน้อยเกินไป
- เมื่อกระดูกขากรรไกรบนอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการยึดกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium plate) ซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากันได้ดีมากกับเนื้อเยื่อของร่างกาย และไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาโลหะที่ดามออก
- เฉลี่ยจะใช้เวลาในการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบประมาณ 90 นาที
2. ผ่าตัดกระดูกขากรรไกรล่าง
- การผ่าตัดลักษณะนี้เหมาะใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีขนาดและตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรบนที่ปกติแต่มีขนาดและตำแหน่งของขากรรไกรล่างที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรล่างใหญ่เกินไป เล็กเกินไปยื่น หรือขถอยไปด้านหลังมากเกินไป
- หลังการผ่าตัด เมื่อกระดูกขากรรไกรบนอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการยึดกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium plate) ซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากันได้ดีมากกับเนื้อเยื่อของร่างกาย และไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาโลหะที่ดามออก
- เฉลี่ยจะใช้เวลาในการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบประมาณ 90 นาที เช่นกัน
3. การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง
- การผ่าตัดลักษณะนี้เหมาะใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของขากรรไกรที่ซับซ้อน เพื่อให้ได้การสบฟันที่เหมาะสมและรูปร่างของใบหน้าที่มีความสมมาตรและสมดุลมากที่สุด
- เป็นการผ่าตัดขากรรไกรที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะช่วยลดโอกาสการเกิดการคืนกลับของกระดูก (relapse) ไปในจุดเดิมก่อนการผ่าตัดได้
- เฉลี่ยจะใช้เวลาในการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบประมาณ 180 นาที
ขั้นตอนก่อนการผ่าตัดขากรรไกร
- การปรึกษาแพทย์: คนไข้ทำการเข้าพบทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ช่องปากเพื่อประเมินขากรรไกร และการสบฟัน ซึ่งอาจมีการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ ภาพถ่าย และการสแกน 3 มิติเพื่อวางแผนการรักษาอย่างละเอียด
- การเตรียมการจัดฟัน (การใส่เหล็กจัดฟัน): ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยจะต้องใส่ เหล็กจัดฟัน เป็นระยะเวลา 12 ถึง 18 เดือนก่อนการผ่าตัด เหล็กจัดฟันจะช่วยเคลื่อนฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มประสิธิการสบฟันหลังการผ่าตัดให้ดีขึ้น
- การจัดทำบันทึกก่อนการผ่าตัด: มีการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์, CT สแกน, และทำแบบจำลองฟันเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถวางแผนการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน โดยจะมีการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล 3D เพื่อจำลองผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัด
- 1 วันก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องนอนที่โรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อม และงดน้ำ และอาหาร 8 ชม. ก่อนเข้าห้องผ่าตัด
- เมื่อถึงเวลาผ่าตัด คนไข้จะได้รับการวางยาสลบทั่วไป ซึ่งช่วยให้หลับตลอดการผ่าตัดและจะไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ
- ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดบริเวณภายในปากเพื่อเข้าถึงกระดูกขากรรไกร ทำให้ไม่มีรอยแผลเป็นภายนอกบนใบหน้า
- ศัลยแพทย์จะตัดกระดูกขากรรไกรและเคลื่อนย้ายขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จากนั้นจะใช้แผ่นโลหะและสกรูเล็กๆ ยึดขากรรไกรไว้เพื่อให้กระดูกเข้าที่
- หลังเสร็จสิ้นขั้นตอน แพทย์จะทำการเย็บปิดปากแผลให้เรียบร้อย พร้อมเฝ้าดูอาการต่อไป
การดูแลตัวเอง
24-72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด:
- คนไข้จะมีอาการบวมและปวดมาก ดังนั้นแพทย์จะให้ยาบรรเทาปวดและยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- คนไข้ต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
- สามารถรับประทานอาหารเหลว เช่น น้ำซุป หรือน้ำผลไม้
1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- อาการบวมและปวดจะลดลง แต่ยังต้องรับประทานอาหารอ่อนหรือเหลว
- ห้ามเคลื่อนไหวขากรรไกรมากเกินไป ให้ระวังการกระทบกระแทก
- จะมีการตรวจติดตามผลการฟื้นตัวกับศัลยแพทย์
2-4 สัปดาห์หลังผ่าตัด
- คนไข้จะเริ่มกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้มากขึ้น แต่ยังต้องระมัดระวังการใช้ขากรรไกร
- สามารถเริ่มรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้มากขึ้น เช่น ข้าวต้ม หรืออาหารบด
- ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ หรือการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก
1-3 เดือนหลังผ่าตัด
- อาการบวมจะหายไปเกือบหมดและขากรรไกรเริ่มเข้าที่
- ผู้ป่วยจะได้กลับไปรับการรักษาต่อกับคุณหมอจัดฟันเพื่อทำการจัดฟันต่อจนเสร็จ
- สามารถเริ่มกลับมารับประทานอาหารปกติได้ แต่ต้องระมัดระวังอาหารที่แข็ง
ทำไมต้องรักษากับเรา
เมื่อผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน แพทย์ของเราจะทำการตรวจและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ตำแหน่งและความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนล่าง การเรียงตัวของฟัน และจะมีการวิเคราะห์ความสมดุลของใบหน้าตำแหน่งอื่นๆร่วมด้วย เช่น โหนกแก้ม มุมกรามของขากรรไกรล่าง ตำแหน่งคาง รวมถึงจมูก เพื่อนำไปวางแผนการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ของโครงสร้างใบหน้าทั้งหมดที่กลมกลืน สมมาตร และสวยงามที่สุด
ทีมแพทย์ของเรามีความเชี่ยวชาญด้านการรักษานี้มาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี แพทย์ได้รับการอบรมการผ่าตัดขากรรไกร รวมถึงศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ใช้เทคนิคผ่าตัดแผลเล็ก เมื่อร่วมกับการวางแผนการผ่าตัด 3D ทำให้ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว ทีมแพทย์ของเรายังหมายรวมถึงทันตแพทย์จัดฟันที่ช่วยกันวางแผนการผ่าตัดกับแพทย์ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุด
นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์ ได้รับการศึกษาอบรมต่อทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล รพ.ชลบุรี และศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาติไทย
ข้อมูลออนไลน์
ตัวอย่างเคสคนไข้
ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับปรึกษา Online
ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต้องใช้ในการปรึกษาผ่าตัดขากรรไกร มีดังนี้:
- ภาพถ่ายหน้าตรงขณะยิ้มและไม่ยิ้ม โดยการวางตัวของศีรษะต้องอยู่ในระนาบตามธรรมชาติ
- ภาพถ่ายด้านข้างขณะยิ้มและไม่ยิัม โดยการวางตัวของศีรษะต้องอยู่ในระนาบตามธรรมชาติ
- ลักษณะการกัดสบฟัน และความเอียงของระนาบสบฟัน
จากข้อมูลเบื้องต้น ทีมแพทย์ของเราจะสามารถวิเคราะห์และบอกแผนผ่าตัดคร่าวๆให้ผู้ป่วยได้
- ต้องทำการผ่าตัด 1 หรือ 2 ขากรรไกร
- ต้องทำการผ่าตัดคางร่วมด้วยหรือไม่
- ต้องมีการผ่าตัดโครงสร้างใบหน้าบริเวณอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มุมกราม โหนกแก้ม
- สามาถผ่าตัดก่อนการจัดฟันได้หรือไม่ หรือควรจัดฟันก่อนสักระยะหนึ่งแล้วค่อยผ่าตัด
ส่วนแผนการผ่าตัดโดยละเอียดในรูปแบบ 3D ที่จะสามารถเห็นโครงสร้างใบหน้าหลังการผ่าตัดได้นั้นจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้แก่ CT scan และการพิมพ์ปาก เพื่อนำข้อมูลไปเข้าโปรแกรม 3D เพื่อวิเคราะห์และวางแผนต่อไป
บทความล่าสุด
ฟันห่าง คืออะไร ช่องว่างระหว่างฟัน แก้ยังไง
ฟันห่าง คืออะไร ช่องว่างระหว่างฟัน แก้ยังไง
ผ่าตัดขากรรไกรแก้ปัญหาหยุดหายใจและนอนกรนขณะนอนหลับ
ผ่าตัดขากรรไกรช่วยแก้ปัญหาหยุดหายใจและนอนกรนขณะนอนหลับได้อย่างไร อ่านเพิ่มเติม
ฟันซ้อนคืออะไร วิธีแก้ทำยังไง จัดฟันได้หรือไม่
ฟันซ้อนคืออะไร แก้ยังไง บทความนี้มีคำตอบ