ข้อต่อขากรรไกรเสื่อมและผิดปกติ: สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาทั้งจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์

ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ คือ ภาวะที่ข้อต่อบริเวณขากรรไกรที่ใช้บดเคี้ยวอาหารมีความผิดปกติเกิดขึ้น อันนำไปสู่อาการขากรรไกรอักเสบ และหากเป็นเรื้อรัง จะส่งผลให้ข้อต่อขากรรไกรเสื่อมในที่สุด ซึ่งอาการหลักๆ ได้แก่ ปวดเมื้อยบริเวณกรามและกล้ามเนื้อโดยรอบเวลาเคี้ยวอาหารหรือพูด มีเสียงดังเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อขากรรไกรมีการเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั้งปวดร้าวไปยังบริเวณหูและขมับ

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า ภาวะข้อต่อขากรรไกรเสื่อมและผิดปกตินั้น เกิดจากอะไร มีอาการอะไรบ้าง และมีวิธีการรักษาอย่างไร

สาเหตุ

ข้อต่อขากรรไกรผิดปกตินั้น สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนั้

  • อาการบาดเจ็บตรงบริเวณกรามและข้อต่อขากรรไกร
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับข้อกระดูกต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เป็นต้น
  • การสบฟันที่ผิดปกติเป็นเวลานาน
  • การนอนกัดฟันเป็นเวลานาน ทำให้ข้อต่อขากรรไกรต้องทำงานมากกว่าปกติ
  • ภาวะเครียดสะสม ซึ่งอาจทำให้มีการกัดฟันและเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณกรามและต้นคอ

อาการ

อาการส่วนใหญ่ที่พบได้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาขากรรไกร ได้แก่

  • ปวดหรือรู้สึกล้าบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกรและกรามเวลาใช้งาน เช่น เวาเคี้ยวอาหาร
  • มีเสียงดังเกิดขึ้นเมื่อข้อต่อขากรรไกรมีการเคลื่อนไหว เช่น เวลาหาว หรือ อ้าปาก
  • มีอาการกรามค้างเวลาอ้าหรือหุบปากเต็มที่
  • มีอาการปวดร้าวไปถึงบริเวณหน้าหูและขมับ
  • มีอาการบวมและอักเสบตรงแก้มและใบหน้าด้านที่มีปัญหา

ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาข้อต่อขากรรไกรเสื่อมและผิดปกติ ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่กระดูกขากรรไกรมีการเจริญเติบโต
  • ผู้ที่มีปัญหาโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อกระดูกต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์
  • ผู้ที่มีภาวะการนอนกัดฟัน (Bruxism) หรือมีนิสัยชอบกัดฟันตัวเอง
  • ผู้ที่มีภาวะการสบฟันที่ผิดปกติ หรือใช้งานขากรรไกรแบบผิดๆ จนเป็นนิสัย เช่น ชอบเคี้ยวอาหารข้างเดียว

กาวินิจฉัยอาการ

  • การตรวจวินิจฉัยทางกายภาพ: แพทย์จะทำการเช็คดูเสียงเวลาใช้งานขากรรไกรและการเคลื่อนที่ของกระดูกกราม ว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
  • X-Rays CT Scans หรือ MRI: เป็นการวินิจฉัยที่สามารถเห็นอาการได้ชัดเจนมากขึ้น โดยสามารถเห็นอาการอักเสบของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อโดยรอบขากรรไกร รวมไปถึงโครงสร้างกระดูกโดยรวม
  • การส่องกล้อง: ในบางครั้ง แพทย์จำทำการส่องกล้องเล็กๆ เข้าไปดูบริเวณข้อต่อและกระดูกขากรรไกร เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
  • การตรวจเลือดและการวินิจฉัยอื่นๆ: หากแพทย์สงสัยว่าอาการอาจเกิดจากโรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูกต่างๆ

วิธีการรักษา

  • การทานยา: เช่น ยาแก้ปวด ลดอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น จะสามารถใช้ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการขากรรไกรอักเสบเบื้องต้นได้
  • การบำบัด: เช่น กายภาพบำบัดเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อต่อขากรรไกร การใช้เฝือกสบฟันเพื่อลดอาการกัดฟันขณะนอนหลับ หรือ การบำบัดจิตเพื่อใช้แก้ไขปัญหาและนิสัยที่นำไปสู่ต้นเหตุของข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ เช่น นิสัยชอบกัดฟันตัวเอง เป็นต้น
  • การฉีดยาและการผ่าตัด: การฉีดยาเพื่อลดการอักเสบแบบรุนแรง เช่น การฉีดสเตียรอยด์ หรือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาข้อต่อหรือผ่าตัดร่วมกับการจัดฟันเพื่อแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ
  • การรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก: เช่น การฝังเข็ม หรือ การจัดกระดูก ก็สามารถใช้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

การดูแลตัวเองที่บ้าน

การดูแลตัวเองที่บ้านเพื่อบรรเทาอาการข้อต่อขากรรไกรที่อักเสบและผิดปกติ มีดังนี้:

  • ประคบเย็นหรือประคบร้อนเพิ่อบรรเทาอาการปวด
  • ฝึกออกกำลังกายและบริหารข้อต่อขากรรไกรเพื่อลดอาดการปวดและเพิ่มความแข็งแรง
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ไม่ต้องจำเป็นต้องเคี้ยวมาก เช่น ข้าวต้ม เป็นต้น
  • หลีกเลี้ยงการใช้งานกรามที่มากเกินไป เช่น อ้าปากกว้างๆ
  • ลดอาการเครียดด้วยการหากิจกรรมทำ เล่นโยคะ หรือ นั่งสมาธิ

ในการรักษาภาวะข้อต่อขากรรไกรที่ผิดปกตินั้น ควรที่ต้องมีการรักษาที่ต้นเหตุร่วมด้วย โดยผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นแล้ว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอคำปรึกษาฟรี สามารถติดต่อเราได้เลย

แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง