ผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน สรุปทั้งหมด

การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognathic surgery) คือการผ่าตัดศัลยกรรมปรับตำแหน่งของขากรรไกรเพื่อแก้ไขความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของ ฟัน-กะโหลกศีรษะ-กระดูกขากรรไกร โดยจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทั้งการสบฟันและโครงหน้าใบหน้าที่ผิดปกติ เช่น ฟันสบลึกจนทำให้มีคางสั้น คางเล็ก ฟันล่างคร่อมฟันบน ทำให้มีคางยื่น คางใหญ่ หรือ ลักษณะของใบหน้าสองข้างไม่เท่ากัน จนส่งผลให้มีหน้าเอียง คางเอียง เป็นต้น ปัญหาที่ยกตัวอย่างเหล่านี้ ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องมีการผ่าตัดขากรรไกรเพื่อปรับเปลี่ยนโครงหน้าร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผลลัพธ์ของการรักษาทั้งโครงสร้างใบหน้าที่สวยงาม และการเรียงตัวของฟันที่สามารถใช้งานได้ดี

ข้อดีของการรักษา

การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน มีข้อดีต่างๆ ดังนี้:

  • ช่วยแก้ไขโดครงหน้ที่ผิดปกติ เช่น หน้าเอียง หน้าเบี้ยว คางเอียง ทำให้บุคลิกดีขึ้น
  • ช่วยแก้ไขปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ เช่น ภาวะสบฟันแบบเปิด (Open bite occlusion) การสบลึก การสบแบบฟันล่างคร่อมฟันบน
  • ช่วยแก้ไขและป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า เช่น ภาวะนอนกรน (Sleep apnea) และะ ปัญหาของข้อต่อขากรรไกร(Temporomandibular joint)

โดยความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกร ฟัน และกะโหลกศีรษะนี้มักก่อเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงของการเจริญเติบโตของผู้ป่วย เมื่อหยุดเจริญเติบโตแล้วส่งผลให้ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลถาวร การผ่าตัดชากรรไกรจึงควรทำการรักษาเมื่อได้เวลาที่เหมาะสม ซึ่งการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน ควรได้รับการรักษาด้วย แพทย์ผ่าตัดเฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (Maxillofacial surgeon) ที่เชี่ยวชาญและชำนาญในการแก้ไขโครงสร้างของใบหน้า กระดูกขากรรไกร โดยเฉพาะ

ชนิดการรักษา

1. ผ่าตัดกระดูกขากรรไกรบนร่วมกับการจัดฟัน (Maxillary surgery, 1-Jaw surgery)

การผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดเฉพาะกระดูกขากรรไกรบนเท่านั้น ทำเพื่อเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนไปในยังตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้ความสัมพันธ์ของขากรรไกรบน ล่าง และกระดูกโครงหน้ากลับสู่จุดสมดุล นอกจากนั้นยังฟื้นคืนการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับกระดูกขากรรไกรบนด้วยได้แก่ การบดเคี้ยว การพูด รวมถึงการหายใจ

การผ่าตัดลักษณะนี้ใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรบนที่ผิดปกติโดยที่กระดูกขากรรไกรล่างมีขนาดปกติและอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ เช่น ขากรรไกรบนหลุบ สั้น ยื่น การสบฟันแบบเปิด ภาวะยิ้มเห็นเหงือกเยอะ หรือภาวะยิ้มเห็นฟันน้อยเกินไป

การรักษานี้นั้น จะใช้การตัดกระดูกขากรรไกรบนที่เรียกว่า Lefort I osteotomy เพื่อให้สามารถเลื่อนขากรรไกรบนเข้าและออกในแนวระนาบ ยืดและหดความยาวของขากรรไกรบนในแนวดิ่งและหมุนตัวกระดูก เมื่อกระดูกขากรรไกรบนอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการแล้วแพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการยึดกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium plate) ซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากันได้ดีมากกับเนื้อเยื่อของร่างกาย และไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาโลหะที่ดามออก

การรักษานี้โดยหมอสุรัตน์และทีมแพทย์ใช้เทคนิคการผ่าตัดแผลเล็กร่วมกับการวางแผนการผ่าตัด 3D โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบประมาณ 90 นาที

2. ผ่าตัดกระดูกขากรรไกรล่างร่วมกับการจัดฟัน (Mandibular surgery, 1-Jaw surgery)

การผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดเฉพาะขากรรไกรล่างเท่านั้น โดยกระดูกขากรรไกรบนจะอยู่ที่จุดเดิม ทำเพื่อเลื่อนกระดูกขากรรไกรล่างไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้ความสัมพันธ์ของกระดูกขากรรไกรบนและล่าง รวมถึงกระดูกโครงหน้ากลับเข้าสู่จุดสมดุล

การผ่าตัดลักษณะนี้เหมาะใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีขนาดและตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรบนที่ปกติแต่มีขนาดและตำแหน่งของขากรรไกรล่างที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรล่างใหญ่เกินไป เล็กเกินไปยื่น หรือขถอยไปด้านหลังมากเกินไป

การผ่าตัดชนิดนี้ จะใช้การผ่าตัดที่เรียกว่า Bilateral sagittal split osteotomy ที่มีลักษณะการผ่าตัดเพื่อแยกขากรรไกรล่างออกจากกันบางส่วน เพื่อให้สามารถเลื่อนขากรรไกรล่างเข้าออก และหมุนได้เล็กน้อย ทั้งในแนวแกน x แกน y และแกน z เมื่อเลื่อนตำแหน่งของกระดูกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วแพทย์ผู้ผ่าตัดจะทำการยึดดามกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียมเช่นเดียวกัน และไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาโลหะที่ดามออก

การรักษานี้โดยหมอสุรัตน์และทีมแพทย์ ใช้เทคนิคการผ่าตัดแผลเล็กร่วมกับการวางแผนการผ่าตัด 3D โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบประมาณ 90 นาทีเช่นเดียวกัน

3. การผ่าตัดทั้งขากรรไกรบนและล่างร่วมกับการจัดฟัน (Maxillo-Mandibular surgery, 2-Jaw surgery)

ในปัจจุบันนี้ การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันมักจะต้องผ่าตัดทั้ง “ขากรรไกรบนและล่างร่วมกัน” เพื่อให้ได้การสบฟันที่เหมาะสมและรูปร่างของใบหน้าที่มีความสมมาตรและสมดุลมากที่สุด การผ่าตัดแบบนี้เรียกสั้นๆว่า “การผ่าตัด 2 ขากรรไกร” (2-Jaw surgery)

การรักษานี้จำเป็นในการรักษาในผู้ป่วยที่เสียสมดุลของของตำแหน่งหรือขนาดของขากรรไกรที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ร่วมกัน เช่นขากรรไกรบนยื่นร่วมกับขากรรไกรล่างถอยไปด้านหลัง หรือขากรรไกรล่างยื่นร่วมกับขากรรไกรบนถอยไปด้านหลัง ในผู้ป่วยเหล่านี้การผ่าตัดเพียงขากรรไกรเดียวอาจจะสามารถแก้ไขให้การสบฟันอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขโครงสร้างของกระดูกใบหน้าให้อยู่ในจุดที่สมดุล สมมาตรที่สุดได้ และการผ่าตัดลักษณะนี้ ยังลดโอกาสการเกิดการคืนกลับของกระดูก (relapse) ไปในจุดเดิมก่อนการผ่าตัดได้

การรักษานี้ต้องใช้การวางแผนการผ่าตัดแบบ 3D และต้องใช้ความเชี่ยวชาญชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดค่อนข้างสูง เพื่อให้ได้รับผลการรักษาที่แม่นยำมากที่สุดและชอกช้ำน้อยที่สุด โดยปกติแล้ว จะทำการรักษาด้วยเทคนิคการผ่าตัดแผลเล็ก และการวางแผนการผ่าตัด 3D อย่างละเอียด ทำให้ทีมแพทย์ของเราใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดเพียงประมาณ 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ใน 1-2 วันหลังการผ่าตัด

ช่วงของการรักษา

โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งช่วงของการรักษาผ่าตัดขากรรไกรได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่:

  1. ช่วงจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร (Pre-surgical orthodontic treatment) ช่วงนี้ทำขึ้นเพื่อย้าย แก้ไข เปลี่ยนมุม หรือตำแหน่งของฟันที่ผิดปกติให้อยู่ในตำแหน่งและมุมของฟันที่ปกติทั้งบนขากรรไกรบนและล่างตั้งแต่ก่อนการผ่า
  2. ช่วงการผ่าตัด (surgery phase) ช่วงนี้จะเป็นการผ่าตัดแก้ไขความสัมพันธ์ที่ผิดปกติของขากรรไกรบนและล่าง เพื่อเลื่อนขากรรไกรไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุด การผ่าตัด 1 หรือ 2 ขากรรไกรขึ้นกับการแผนการรักษาของแพทย์ผู้ผ่าตัด
  3. ช่วงหลังการผ่าตัด (post-surgical orthodontic treatment) ช่วงนี้เป็นการจัดฟันหลังการผ่าตัดเพื่อเก็บรายละเอียดให้ได้การสบฟันที่ดีที่สุด

ระยะเวลาการฟิ้นตัว

  • นอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน
  • แนะนำให้พักฟื้นอยู่บ้าน 7-10 วัน
  • การผ่าตัดขากรรไกรทั่วไปจะมีการใช้ยางดึงฟัน 2 อาทิตย์ เพื่อควบคุมการกัดสบฟัน สามารถอ้าปากได้
  • รับประทานอาหารเหลว 2 อาทิตย์ อาหารอ่อน 1 เดือน จากนั้นเริ่มทานเป็นอาหารปกติได้
  • เริ่มจัดฟันหลังการผ่าตัดกับหมอจัดฟันหลังการผ่าตัด 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน

ทำไมต้องรักษากับเรา

เมื่อผู้ป่วยเข้ามาปรึกษาผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน แพทย์ของเราจะทำการตรวจและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ตำแหน่งและความสัมพันธ์ของขากรรไกรบนล่าง การเรียงตัวของฟัน และจะมีการวิเคราะห์ความสมดุลของใบหน้าตำแหน่งอื่นๆร่วมด้วย เช่น โหนกแก้ม มุมกรามของขากรรไกรล่าง ตำแหน่งคาง รวมถึงจมูก เพื่อนำไปวางแผนการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ของโครงสร้างใบหน้าทั้งหมดที่กลมกลืน สมมาตร และสวยงามที่สุด

ทีมแพทย์ของเรามีความเชี่ยวชาญด้านการรักษานี้มาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี แพทย์ได้รับการอบรมการผ่าตัดขากรรไกร รวมถึงศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ ใช้เทคนิคผ่าตัดแผลเล็ก เมื่อร่วมกับการวางแผนการผ่าตัด 3D ทำให้ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่นาน ฟื้นตัวได้เร็ว ทีมแพทย์ของเรายังหมายรวมถึงทันตแพทย์จัดฟันที่ช่วยกันวางแผนการผ่าตัดกับแพทย์ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการรักษาที่ดีที่สุด

นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา

นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์ ได้รับการศึกษาอบรมต่อทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล รพ.ชลบุรี และศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาติไทย

ข้อมูลออนไลน์

ตัวอย่างเคสคนไข้

ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับปรึกษา Online

ข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นต้องใช้ในการปรึกษาผ่าตัดขากรรไกร มีดังนี้:

  • ภาพถ่ายหน้าตรงขณะยิ้มและไม่ยิ้ม โดยการวางตัวของศีรษะต้องอยู่ในระนาบตามธรรมชาติ
  • ภาพถ่ายด้านข้างขณะยิ้มและไม่ยิัม โดยการวางตัวของศีรษะต้องอยู่ในระนาบตามธรรมชาติ
  • ลักษณะการกัดสบฟัน และความเอียงของระนาบสบฟัน

จากข้อมูลเบื้องต้น ทีมแพทย์ของเราจะสามารถวิเคราะห์และบอกแผนผ่าตัดคร่าวๆให้ผู้ป่วยได้

  1. ต้องทำการผ่าตัด 1 หรือ 2 ขากรรไกร
  2. ต้องทำการผ่าตัดคางร่วมด้วยหรือไม่
  3. ต้องมีการผ่าตัดโครงสร้างใบหน้าบริเวณอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น มุมกราม โหนกแก้ม
  4. สามาถผ่าตัดก่อนการจัดฟันได้หรือไม่ หรือควรจัดฟันก่อนสักระยะหนึ่งแล้วค่อยผ่าตัด

ส่วนแผนการผ่าตัดโดยละเอียดในรูปแบบ 3D ที่จะสามารถเห็นโครงสร้างใบหน้าหลังการผ่าตัดได้นั้นจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้แก่ CT scan และการพิมพ์ปาก เพื่อนำข้อมูลไปเข้าโปรแกรม 3D เพื่อวิเคราะห์และวางแผนต่อไป

บทความล่าสุด

ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ เกิดจากอะไร แก้ไขยังไง

ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ เกิดจากอะไร แก้ไขยังไง

ภาวะยิ้มเห็นเหงือกเยอะ เกิดจากอะไร แก้ไขยังไง บทความนี้มีคำตอบ

ฟันสบเปิด (Open Bite) ฟันไม่สบกัน คืออะไร แก้ยังไง

ฟันสบเปิด (Open Bite) ฟันไม่สบกัน คืออะไร แก้ยังไง

ฟันสบเปิด คืออะไร แก้ยังไง หากปล่อยไว้จะเกิดอะไรขึ้น