6 ประเภทของการผ่าตัดขากรรไกร
ขากรรไกรที่ผิดปกตินั้น นำไปสู่ปัญหาเรื้อรังมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสบฟัน ปัญหาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ และอื่นๆ ซึ่งในหลายๆ ครั้ง การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ต้องทำด้วยการผ่าตัดขากรรไกรเท่านั้น
ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว การผ่าตัดขากรรไกรสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้:
- การผ่าตัดขากรรไกรบน (Maxillary Osteotomy)
- การผ่าตัดขากรรไกรรล่าง (Mandibular Osteotomy)
- การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง (Bimaxillary Osteotomy)
- การผ่าตัดเสริมคาง (Genioplasty)
- การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรแบแบ่งส่วน (Segmental Osteotomy)
- การผ่าตัดยืดขยายกระดูกกราม (Distraction Osteogenesis)
1. การผ่าตัดขากรรไกรบน (Maxillary Osteotomy)
การผ่าตัดลักษณะนี้ใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรบนที่ผิดปกติโดยที่กระดูกขากรรไกรล่างมีขนาดปกติและอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ เช่น ขากรรไกรบนหลุบ สั้น ยื่น การสบฟันแบบเปิด ภาวะยิ้มเห็นเหงือกเยอะ หรือภาวะยิ้มเห็นฟันน้อยเกินไป
โดยในการรักษา ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรให้เข้าที่ หลังจากนั้นจะทำการยึดกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium plate)
2. การผ่าตัดขากรรไกรรล่าง (Mandibular Osteotomy)
การผ่าตัดลักษณะนี้เหมาะใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีขนาดและตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรบนที่ปกติแต่มีขนาดและตำแหน่งของขากรรไกรล่างที่ผิดปกติ เช่น ขากรรไกรล่างใหญ่เกินไป เล็กเกินไปยื่น หรือขถอยไปด้านหลังมากเกินไป
โดยในการรักษา ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรให้เข้าที่ หลังจากนั้นจะทำการยึดกระดูกด้วยโลหะดามกระดูกที่ทำจากไทเทเนียม (Titanium plate)
3. การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่าง (Bimaxillary Osteotomy)
การผ่าตัดลักษณะนี้เหมาะใช้ในการแก้ไขผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของขากรรไกรที่ซับซ้อน เพื่อให้ได้การสบฟันที่เหมาะสมและรูปร่างของใบหน้าที่มีความสมมาตรและสมดุลมากที่สุด เป็นการผ่าตัดขากรรไกรที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะช่วยลดโอกาสการเกิดการคืนกลับของกระดูก (relapse) ไปในจุดเดิมก่อนการผ่าตัดได้
4. การผ่าตัดเสริมคาง (Genioplasty)
เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับโครงสร้างของคางให้ดูสวยงาม สมส่วนมากขึ้น และมักมีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย โดยในการรักษา ศัลยแพทย์จะทำการตัดกระดูกบางส่วนออกจากคาง และปรับกระดูกที่เหลือให้เข้าที่หรือสมส่วนกับใบหน้า ซึ่งนอกจากจะใช้เพื่อความสวยงามแล้ว การรักษานี้ยังใช้กับผู้ที่มีภาวะใบหน้าไม่เท่ากันอีกด้วย
5. การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรแบแบ่งส่วน (Segmental Osteotomy)
การผ่าประเภทนี้ เป็นการผ่าตัดกระดูกบางส่วนในขากรรไกรบนหรือล่าง และทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ แทนที่จะทำการเลื่อนขากกรรไกรบนหรือล่างทั้งส่วน ซึ่งโดบส่วนใหญ่ ใช้รักษาปัญหาเช่น ฟันซ้อนเก ฟันห่าง หรือ ปัญหาฟันอื่นๆ ที่ไม่ซับซ้อนมาก และยังเป็นการผ่าตัดที่นิยมใช้การจัดฟันร่วมด้วยเพื่อแก้ไขปัญหา
6. การผ่าตัดยืดขยายกระดูกกราม (Distraction Osteogenesis)
เป็นการผ่าตัดเพื่อใช้ยืดกระดูกในกรณีที่ขากรรไกรมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติอย่างมาก โดยในการรักษา ศัลยแพทย์จะทำการติดตั้งอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ค่อยๆ ยืดขยายกระดูกกรามเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกเพื่มเติมในส่วนที่ต้องการ