ฟันห่าง คืออะไร ช่องว่างระหว่างฟัน แก้ยังไง

เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาทั้งจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์

ฟันห่าง หรือ Diastema คือลักษณะฟันที่มีช่องว่างอย่างชัดเจนระหว่างฟันสองซี่ โดยมักจะเกิดกับฟันหน้าบน โดยสาเหตุของฟันห่างนั้นสามารถเกิดได้จากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของพังผืดเหงือก และอื่นๆ โดยปัญหานี้นั้น ส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตมาก ยกเว้นที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์

ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า ช่องว่างระหว่างฟันเกิดจากอะไร ส่งผลอะไรบ้างในการใช้ชีวิต รวมไปถึงขั้นตอนการรักษาต่างๆ

สาเหตุ

  • นิสัยในวัยเด็ก: เช่น การชอบดูดนิ้ว หรือ ชอบหาอะไรไปทิ่มระหว่างฟันซ้้ๆ นานๆ ทำให้ฟันที่เกิดมาใหม่มีช่องว่างเกิดขึ้น
  • การเจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกร: ไม่ว่าจะมาจากกรรมพันธุ์ หรือ เกิดขึ้นในช่วงวัยเจริญเติบโต หากฟันมีขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่าขากรรไกรมากเกินไป จะส่งผลให้ฟันเรียงตัวห่างจากกัน
  • ความผิดปกติของ frenum attachment: frenum attachment หรือ พังผืดเหงือก เป็นเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะเชื่อมระหว่างริมฝีปากบนและเหงือก โดยหากพังผืดนี้มีลักษณะที่หนาหรือใหญ่เกินไป จะทำให้ฟันทั้ง 2 ซี่ถูกดึงแยกออกให้ห่างกัน
  • โรคเหงือกอักเสบ: โรคเหงือกอักเสบสามารถทำให้เหงือกโดยรอบที่รองรับฟันเกิดการอัเสบและไม่สามารถรองรับการยึดเกาะของไฟันได้เต็มที่ ซึ่งสามารถทำให้ฟันโยกและห่างออกได้
  • ผ่านการถอนฟันหรือเกิดอุบัตเหตุที่ทำให้สูญเสียฟัน: หากเคยผ่าการถอนฟันมาก่อนหรือเคยกิดอุบัตเหตุที่ทำให้สูญเสียฟัน จะทำให้เกิดแผลเล็กๆ ระหว่างช่องฟัน โดยอาจทำให้เกิดฟันห่างได้

ผลกระทบ

ผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันและการใช้งานหากมีฟันห่างเกิดขึ้น มีดังนี้

  • ภาพลักษณ์และความมั่นใจ: ฟันที่ห่างมากจนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองและภาพลักษณืความสวยงามเวลายิ้มหรือพูดคุยกับผู้อื่น
  • การออกเสียง: ฟันที่ห่างมากเกินไปในบางครั้งสามารถทำให้ออกเสียงบางคำได้ไม่เต็มที่
  • การทำความสะอาดดูแลช่องปาก: ปัญหาฟันห่างทำให้เกิดการสะสมของคราบพลัคและเศษอาหารได้ง่ายรวมไปถึงการทำความสะอาดที่ยากขึ้น
  • กากัดและใช้งานฟัน: ปัญหาฟันที่ห่างมากไปส่งผลให้ฟันไม่สามารถใช้งานในการกัดหรือฉีกอาหารได้เต็มที่ รวมไปถึงทำให้ขากรรไกรมีการใช้งานมากกว่าปกติ ทำให้อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยและปวดกราม และหากเป็นเรื้องรัง สามารถทำให้ข้อต่อขากรรไกรเสื่อมได้

วิธีรักษาแก้ไข

  • การจัดฟัน: ทันตกรรมจัดฟันทั้งแบบดั้งเดิมและการจัดฟันใสสามารถช่วยแก้ไขปัญหาฟันห่างได้ในหลายระดับ ถือเป็นการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
  • บูรณะฟันด้วยวัสดุเรซิน: วัสดุเรซินสีเหมือนฟันสามารถใช้อุดปิดช่องห่างระหว่างฟันได้ในกรณีที่ฟันห่างไม่มาก
  • การแปะวีเนียร์: วีเนียร์เป็นวัสดุเคลือบผิวฟันที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติ ใช้ในการเพิ่มความสวยงามทางทันตกรรม โดยสามารถนำมาใช้ปิดในส่วนของฟันที่มีลักษณะห่างกันได้ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความแข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน
  • การผ่าตัดเนื้อยึดในช่องปาก (Frenectomy): ใช้ในกรณีที่พังผืดเหงือกมีความผิดปกติ โดยศัลแพทย์จะทำการผ่าตัดเล็กตรงส่วนที่พังผืดมีขนาดใหญ่หรือหนาเกินไปเพื่อแก้ไขปัญหา
  • รากเทียมหรือสะพานฟัน: หากฟันห่างเกิดจากการสูญเสียฟัน ทันตแทพย์จะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการฝังรากเทียมหรือทำสะพานฟันเพื่อเติมช่องว่างที่หายไป
  • การรักษาโรคเหงือก: หากฟันห่างเกิดจากโรคเหงือก แพทย์จะทำการรักษาด้วยกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกลารากฟัน ขูดหินปูน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม
  • การผ่าตัดขากรรไกร: ในกรณีที่ฟันห่างเกิดจากปัญหาการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกขากรรไกรและมีปัญหาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ฟันสบลึก หรือ ฟันสบเปิด การผ่าตัดขากรรไกรและตามด้วยการจัดฟันก็จะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ใช้ในการรักษา
แชร์บทความนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง