ฟันสบลึก ยิ้มไม่เห็นฟันล่าง คืออะไร แก้ยังไง

เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
เขียนโดย นพ.ทพ.สุรัตน์ แสงจินดา
นพ.ทพ. สุรัตน์ แสงจินดา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จบการศึกษาทั้งจากคณะทันตแพทย์และคณะแพทย์

ฟันสบลึก (Deep Bite) เป็นภาวะการสบฟันที่ผิดปกติแบบหนึ่ง มีลักษณะฟันนบนคร่อมฟันล่างมากเกินไปจนเกือบมองไม่เห็น โดยการสบฟันที่ปกติเวลาคนเรากัดฟันฟันหน้าบนจะคร่อมฟันหน้าล่าง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น ถ้าฟันหน้าบนคร่อมฟันหน้าล่างมากกว่า 4 มิลลิเมตร จะถือว่ามีภาวะนี้

ปัญหานี้ นอกจากจะกระทบเรื่องความสวยงามแล้ว หากปล่อยไว้ จะมีโอกาสที่จะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ได้ ซึ่งในบทความนี้ เรามาดูรายละเอียดกัน

สาเหตุ

  1. สาเหตุทางพันธุกรรม: เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยที่มีลักษณะฟันสบลึกมักจะมีบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้องที่มีการสบฟันที่ผิดปกติด้วยเช่นกัน การสบลึกางพันธุกรรมมักส่งผลให้ขากรรไกรล่างเล็กหรือสั้นกว่าปกติด้วยเช่นกัน
  2. การเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ: การสบและเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ เช่น ฟันเก ฟันหน้าที่เจริญเติบโตมากไป และอื่นๆ อาจทกให้เกิดการสบฟันที่ลึกได้
  3. นิสัย: นิสัยสมัยเด็กที่ก่อให้เกิดฟันสบลึก ได้แก่ นิสัยดูดนิ้ว นิสัยชอบใช้ลิ้นดุนฟัน นิสัยเหล่านี้จะทำให้ฟันหน้าบนเอนไปด้านหน้ามากกว่าปกติ จนอาจเกิดภาวะนี้ตามมา
  4. ฟันสึก: การกัดสบฟันที่มากกว่าปกติ การสูญเสียฟันหลัง ภาวะเหล่านี้จะทำให้ระนาบการบดเคี้ยวถูกทำลายไปทำ ทำให้ฟันสบลึกกว่าปกติ
  5. อุบัติเหตทางฟันหรือขากรรไกร: หากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุทางฟันหรือขากรรไกร อาจทำให้มีการเคลื่อนตำแหน่งของฟันหรือขากรรไกรที่ผิดปกติได้
  6. การรักษาทางทันตกรรม: การรักษาทางทันตกรรมที่ผิดพลาด เข่น อุดฟันมากไป หรือ ครอบฟันที่สูงไป อาจทำให้เกิดฟันสลบึกได้

ผลกระทบที่ได้รับ

  1. ใบหน้าส่วนล่างจะดูสั้นกว่าปกติ คางจะดูเล็กและหลุบไปด้านใน ทำให้สัดส่วนและสมดุลของใบหน้าเสียใป
  2. การสบฟันลึกจะทำให้ฟันหน้าล่างสบไปชนกับฟันหน้าบนมากผิดปกติ จนอาจจะทำให้ฟันหน้าบนสึกจนหักหรือโยกได้ การสบลึกของฟันหน้าล่างในผู้ป่วยบางคนจะไปกัดกับเพดานปากบริเวณหลังฟันหน้าบนทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังหรือโรคเหงือกอักเสบได้
  3. ปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหาร ทำให้ไม่สามารถใช้ฟันหน้าฉีกอาหารได้ดีเท่าที่ควร
  4. อาจส่งผลต่อการพูดบางคำได้
  5. ปัญหาทางขอต่อของขากรรไกร ทำให้มีโอกาสขากรรไกรเสื่อม (TMD) หรือ อักเสบเรื้อรังได้ เพราะมีการใช้งานขากรรไกรด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป อันเนื่องมากรรไกรที่ไม่เท่ากัน
  6. การสบลึกมักส่งผลให้มีภาวะหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับได้ (obstructive sleep apnea)
  7. ปัญหานี้อาจกระทบกับรูปลักษณ์ โดยเฉพาะเวลายิ้มหรือพูดคุยกับคนอื่น ซึ่งอาจนำมาสู่ความไม่มั่นใจในตนเอง

การรักษาแก้ไข

  1. การจัดฟัน: การจัดฟันนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันที่สบลึกไม่มากเกินไป สามารถทำได้ 2 แบบ คือ แบบติดแน่น (Traditional Braces) – เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการค่อนข้างเยอะ เช่น จัดฟันโลหะ หรือ แบบดามอน และแบบใส (Clear Braces) – เหมาะสำหรับการแก้ไขฟันที่สบลึกไม่มาก เช่น Invisalign โดยระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของภาวะ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี
  2. การใช้เครื่องมือ: การใช้เครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหาฟันสบลึกนั้นเหมาะสำหรับในกรณีที่ภาวะนี้เกิดจากฟันสึกหรือฟันที่รับการบาดเจ็บ ซึ่งเครื่องมือหลักๆ ที่ใช้ ได้แก่ เพลทจัดฟัน (Bite Plates) และ เฝือกสบฟัน (Splints)
  3. ผ่าตัดขากรรไกร: ในกรณีที่ฟันสบลึกมากเกินไป ร่วมกับมีคางที่เล็กและสั้น ต้องใช้การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันเพื่อรักษา
  4. การบูรณะทางทันตกรรม: หากการสบลึกเกิดจากเกิดจากการสูญเสียฟัน ต้องใช้การใส่ฟันปลอม หรือการทำครอบฟัน เพื่อช่วยในการรักษา
  5. การฝึกนิสัย: หากภาวะนี้เกิดจากนิสัยทางทันตกรรมที่ไม่เดี เช่น ชอบดูดนิ้ว อาจต้องมีการฝึกนิสัยหรือปรึกษาจิตแพทย์ร่วมด้วย
  6. การรักษาอื่นๆ: การรักษาอื่นๆ เช่น การถอนฟัน หรือ ใส่รีเทนเนอร์จัดฟัน ก็สามารถช่วยแก้ไขฟันสบลึกได้ในบางกรณึ

ซึ่งในการเลือกวางแผนการรักษา ผู้ป่วยควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

แชร์บทความนี้